วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ท่องเที่ยวเมืองเชียงราย

   เชียงราย เป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงรายอาณาเขตทิศเหนือจรดแควงเชียงตง ประเทศพม่าโดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจด ทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาวและติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่
    ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พ่อขุนเม็งรายสร้างขึ้น ณ ที่เดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์เมื่อ พ.ศ 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ.1839 ต่อมาไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ.1860 จึงสวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่า
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพระไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อแคว้นล้านนาไทยตกไปอยู่ในปกครองของพม่า พม่าได้ตั้งขุนนางมอญคือพระยาชิตวงศ์มาปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งมอญก็คงครองเมืองเชียงรายสืบต่อ กันมาจนถึง พ.ศ. 2329ปีนั้น พระยายองกับพระยาแพร่คิดด้วยกันจะสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานครจึงจับเอาปะกามณี แม่ทัพที่พม่าตั้งให้ปกครองเมืองเชียงราย เป็นเชลยแล้วนำตัวส่งลงมาถวายยังกรุงเทพมหานคร
ต่อมา พ.ศ. 2330 พม่ายกกองทัพจากแคว้นเชียงตุงลงมา ตีได้เมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย ทัพเมืองฝางจึงเข้าสมทบทัพพม่า และทัพพม่านี้เดินทางผ่านเมืองพะเยาลงมาเอาเมืองนครลำปางแต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ร้างไปถึง พ.ศ.2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองโดยให้สังกัดเมืองเชียงใหม่ กระทั่งพ.ศ.2453 จึงมีพระราชบัญญัติยกเมืองเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด



   จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่
    จังหวัดเชียงราย อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งอย่างไม่ขาดสายนับตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล หรือก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
 
    ภูมิประเทศของจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมาก และยังผลให้ฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปีอุณหภูมิจะต่ำมาก เฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียสและในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยใน พ.ศ. 2541 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส



            สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย  
      อำเภอแม่ฟ้าหลวง
-ดอยแม่สลอง
เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรีใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป ๑ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไป ๑๒ กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลยจากศูนย์ฯ ไปอีก ๑๑ กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยก ทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย ๔๒ กิโลเมใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป ๑ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไป ๑๒ กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เลยจากศูนย์ฯ ไปอีก ๑๑ กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยก ทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย ๔๒ กิโลเมตร
-บ้านเทอดไทย
จากเชียงราย ๖๖ กิโลเมตร
-ดอยหัวแม่คำ
สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๘๕๐ เมตร จากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลองสายเก่า ทางหลวงหมายเลข ๑๑๓๐ แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกอีก้อ ผ่านบ้านเทิดไทย ไปจนถึงบ้านแม่คำ ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ๑๐๐ กิโลเมตร บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดน เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว ๓ ชั่วโมง ดอยหัวแม่คำเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่
เผ่าลีซอ เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอีก้อ ม้งและมูเซ
-พระตำหนักดอยตุง
เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฝีมือช่างชาวเหนือ รอบ ๆ พระตำหนักมีสวนดอกไม้หลากพันธุ์ ฤดูหนาวจะเห็นหมอกจาง ๆ บริเวณยอดเขารอบ ๆ พระตำหนัก มีเจ้าหน้าที่นำชมเป็นรอบ ๆ ละ20 นาที เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา07.00-17.30น. ค่าเข้าชม 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร . 0 5376 7015-7 สวนแม่ฟ้าหลวง อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุงมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว อาทิ ดอกซัลเวีย พิทูเนีย บีโกเนีย กุหลาบ ดอกลำโพง ไม้มงคลต่าง ๆ ไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลี้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด
-สถูปดอยช้างมูบและสวนรุกขชาติช้างมูบ
-พระธาตุดอยตุง อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๗ . ๕ บนทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๙ เป็นที่บรรจุ พระรากขวัญเบื้องซ้าย ( กระดูกไหปลาร้า ) ของพระพุทธเจ้านำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธ ศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย



อำเภอเมือง
-อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหราช
   ตั้งอยู่ที่ห้าแยกพ่อ
พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ . ศ . ๑๘๐๕ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึง ปัจจุบัน 
-กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช -วัดพระสิงห์
-วัดพระแก้ว
-วัดพระธาตุดอยทอง
-วัดร่องขุ่น
-ศูนย์ภาษาวัฒนธรรมจีนสิรินธร
-สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย
-พิพิธภัณฑ์อูบคำ
-ถ้ำผาตอง-จุดท่องเที่ยวจากเชียงราย-ท่าตอน
-น้ำตกขุนกรณ์
- ล่องเรือแม่น้ำกก
-ไร่แม่ฟ้าหลวง 
-พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
-น้ำพุร้อนโป่งพระบาท
-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและบ่อน้ำร้อนผาเสริฐ 

    อำเภอแม่จัน
-พิพิธภัณฑ์พระ 
-ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
-น้ำพุร้อนป่าตึงหรือน้ำพุร้อนห้วยหินฝน

    อำเภอแม่สาย
-ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค
-ถ้ำปุ่ม
-ถ้ำปลา 
-ถ้ำผาจม
-พระธาตุดอยเวา

    อำเภอเชียงแสน
-ทะเลสาบเชียงแสน
-สบรวก หรือ ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ
-พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น 
-หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
-วัดพระเจ้าล้านทอง 
-วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
-วัดป่าสัก 
-วัดพระธาตุผาเงา
-วัดเจดีย์เจ็ดยอด
-วัดพระธาตุจอมกิตติ
-วัดสังฆาแก้วดอนหัน

    อำเภอเชียงของ
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ ๑๑๔ กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอำเภอเชียงแสน - เชียงของ ทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๙ เป็นทางเลียบฝั่งโขง ห่างจากเชียงแสนประมาณ ๕๕ กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากอำเภอแม่จัน ใช้เส้นทางแม่จัน - บ้านกิ่วพร้าว - บ้านแก่นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๘ บ้านแก่น - บ้านทุ่งงิ้ว ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๔ และบ้านทุ่งงิ้ว - เชียงของ รวมระยะทางจากเชียงรายประมาณ ๑๓๗ กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย 
-ท่าเรือบั๊ค
-บ้านหาดบ้าย
        อำเภอเวียงแก่น
-ดอยผาตั้ง    อยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ ๓ เป็นจุดชมวิวไทย- ลาว และเที่ยวชมทะเลหมอกได้ตลอดปี ในเดือนธันวาคมถึงมกราคม มีดอกซากุระและดอกเสี้ยวบานสะพรั่งงดงาม เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล ๙๓ ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้ง 
หาดผาได ห่างจากเทศบาลเวียงแก่น ๑๒ กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวเหมาะสำหรับฤดูหนาว เกาะแก่งและแนวหาดทรายในลำน้ำโขงปรากฏเป็นบริเวณกว้างดูสวยงามมาก เป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-ลาว

       อำเภอเทิง 
-ภูชี้ฟ้า
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑ , ๖๒๘ เมตร มีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้น อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง ๒๕ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า
-วัดพระธาตุจอมจ้อพระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ กาล เป็นพระธาตุที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า  ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ๖๕ กิโลเมตร

    อำเภอพาน
-อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
-พระธาตุจอมแว่

    อำเภอแม่สรวย
-ดอยช้างดอยวาวี
-วัดพระเจ้าทองทิพย์ ประวัติกล่าวว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๖ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ยกพระธิดาให้กับพระเจ้าโพธิสารกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัต ตนาคณหุต (สปป.ลาว) แต่ไม่มีโอรสจึงไปบนขอจากพระเจ้าทองทิพย์ พระมเหสีทรงประสูติพระโอรส พระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาได้สวรรคตไม่มีราชบุตรสืบราชบัลลังก์ ข้าราชบริพารได้ทูลขอพระไชยเชษฐาไปครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาตและขอให้อัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วย โดยล่องเรือมาตามลำน้ำโขง ลำน้ำกก และลำน้ำลาว เมื่อเดินทางถึงที่ตั้งวัดในปัจจุบัน เรือก็เกยตื้นไม่สามารถเดินทางต่อไปได้จึงได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐานไว้ ณ ที่นั่นเอง พระเจ้าไชยเชษฐาครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๒ ปี พระบิดาก็สวรรคตจึงเสด็จกลับมาหลวงพระบาง พระองค์ได้นำพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ไปด้วย เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และอีกหลายองค์ ซึ่งต่อมาพระพุทธรูปทุกองค์ได้คืนกลับมาเมืองไทยหมด แต่พระเจ้าทองทิพย์ได้ค้างอยู่ในป่าเป็นเวลานานหลายร้อยปี พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘๐ เซนติเมตร สูง ๑๒๐ เซนติเมตร เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าใครต้องการมีบุตรให้มาบนขอ





    อำเภอเวียงป่าเป้า
-อุทยานแห่งชาติขุนแจ
อุทยานแห่งชาติขุนแจตั้งขึ้นเมื่อปี พ . ศ . ๒๕๓๘ เป็นอุทยานที่มีความร่มรื่นสมบูรณ์ของป่า มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ชะมด หมูป่า เก้ง เม่น หมี ลิงลม นกต่างๆ เช่น นกแซงแซวสีเทา เหยี่ยวรุ้ง นกตีทอง นกเขียวก้านทองปีกสีฟ้า เป็นต้น
-บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ
มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ๓ บ่อ บริเวณบ่อน้ำร้อนมีชาวบ้านนำไข่มาขายเพื่อให้นักท่องเที่ยวทดสอบต้มในบ่อน้ำ ร้อน เป็นจุดแวะพักระหว่างการเดินทางจากเชียงใหม่-เชียงราย
             เส้นทางไปท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
รถยนต์
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ 1. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้าย
เข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก
เข้าสู่จังหวัดลำปาง แล้วตรงไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร

2. เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยก
ขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวง
หมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนน
พหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไปจนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร

3. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยน
ไปใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวง
หมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้าเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ไปเชียงรายทุกวัน แบ่งเป็นหลายเส้นทาง
ได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ โดยจะมีรถออก
จากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่
สถานีขนส่งสายเหนือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2852-66
สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1369
บริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2954 3601-7 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1882
บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495 สำนักงานเชียงราย
บริษัท อินทราทัวร์ โทร. 0 2936 2492 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1235
บริษัท คฤหาสน์ทัวร์ โทร. 0 2936 3531 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 7083 
     รถไฟ
    จากรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 

   เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน วันละ 2 เที่ยว สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1179, 0 5371 5207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น